หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555
ระบบเวลา
เนื่องจากจุดต่าง ๆ บนพื้นโลก จะเห็นดวงอาทิตย์แตกต่างกันและการตกเมอริเดียนของคุณในเวลา 12:00 น. จะมีข้อแตกต่างระหว่างคนที่อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี กับจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นในแต่ละประเทศ จะต้องใช้จุดอ้างอิงระบบเวลาจุดเดียวกันและกำหนดให้เป็นเวลาราชการ เช่น ของประเทศไทย กำหนดจุดอ้างอิงที่เส้นแวง 105 องศาตะวันออก ซึ่งอยู่แถว ๆ จังหวัดอุบลราชธานี
ความสัมพันธ์ระหว่างลองจิจูดกับเวลา
เนื่องจากโลกหมุนรอบตัวเอง ซีกหนึ่งของโลกจึงเป็นกลางคืนในขณะที่อีกซีกหนึ่งเป็นกลางวัน ในปี 1884 โดยความตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งหมด 25 ประเทศได้มีการกำหนดเขตแบ่งเวลากันขึ้น หากเราลากเส้นแบ่งที่กึ่งกลางโลกไปบรรจบกันเป็นวงกลม เส้นนี้จะเรียกว่า อีเควเตอร์ (Equator) ที่ประชุมได้แบ่งจากเส้นนี้ ออกไปอีก 24 เส้นจากทั้งหมด 360 องศารอบโลก นั่นหมายความว่า แต่ละเส้นจะห่างจากเส้นที่อยู่ติดกัน 15 องศา (360หาร24 = 15) โดยเริ่มนับเส้นแรกจากเส้นเวลามาตรฐานกรีนิช (Greenwich) ประเทศอังกฤษแต่ละเส้นจากทั้งหมด 24 เส้น จะเป็นการแสดงความแตกต่างของเวลาหนึ่งชั่วโมง
ประเทศไทย จะอยู่ในราวเส้นที่ 105 องศาตะวันออก หากหารด้วยสิบห้าก็จะได้เส้นแบ่งเวลาออกมาเป็นเส้นที่ 7 นั่นหมายความว่า เวลาในประเทศไทย จะล้ำหน้าเวลาในอังกฤษอยู่ 7 ชั่วโมงในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหญ่ จะมีการแบ่งเขตเวลาภายในประเทศออกเป็นสี่เขตด้วยกัน คือ ตะวันออก ภาคกลาง เทือกเขา และ แปซิฟิก (Eastern, Central, Mountain and Pacific) เช่น เวลา 7 p.m. เวลาตะวันออก จะเป็น 6 p.m. เวลาภาคกลาง เป็น 5 p.m.เวลาเทือกเขา และเป็นเวลา 4 p.m. เวลาแปซิฟิก
วันและเวลาของโลกปฏิสัมพันธ์กับเส้นลองจิจูด โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง เป็นมุม 360 องศา เอา 24 ไปหาร 360 จะได้ว่าโลกหมุนไปได้ชั่วโมงละ 15 องศา / นาทีละ 15 ลิปดา / วินาทีละ 15 ฟิลิปดา ดังนั้นค่าลองจิจูด หรือเส้นเมอริเดียนจะทำให้เราคำนวณเวลาทั้ง 24 เขตของโลก การแบ่งเวลาของโลกโดยแบ่งออกเป็น 24 เขต แต่ละเขตมีความกว้าง 15 องศาลองจิจูด หรือ เวลา 1 ชั่วโมง โดยเขตแรกมีเส้นเมอริเดียนแรก หรือเมอริเดียน 0 องศา ผ่านเมืองกรีนิชเป็นแกนกลาง เขตเวลา
ของโลกจะนับตามลองจิจูดใดก็ตาม ถ้านับไปทางตะวันออก จะเร็วกว่าทางตะวันตก และถ้านับไปทางตะวันตกจะช้ากว่าเวลาทางตะวันออก
หมายเหตุ 1 องศา แบ่งออกเป็น 60 ลิปดา 1 ลิปดา แบ่งออกเป็น 60 ฟิลิปดา
การหาลองจิจูด หาได้จากการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งสัมพันธ์กับเวลาดังนี้
โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1,440 นาที
ค่าของมุมตามเส้นเมอริเดียน(ลองจิจูด)มีทั้งหมด 360 องศา
ฉะนั้น ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้น มีเวลาห่างกัน 1440 /360 = 4 นาที
นั่นคือ ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา มีเวลาต่างกัน 4 นาที
เวลา 4 นาที ค่าลองจิจูดต่างกัน 1 องศา
“ 60 “ “ 60/4 = 15 องศา
นั้นคือ ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้นห่างกันทุก ๆ
การหาลองจิจูด หาได้จากการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งสัมพันธ์กับเวลาดังนี้
โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 24 ชั่วโมง หรือ 1,440 นาที
ค่าของมุมตามเส้นเมอริเดียน(ลองจิจูด)มีทั้งหมด 360 องศา
ฉะนั้น ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้น มีเวลาห่างกัน 1440 /360 = 4 นาที
นั่นคือ ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้นห่างกัน 1 องศา มีเวลาต่างกัน 4 นาที
เวลา 4 นาที ค่าลองจิจูดต่างกัน 1 องศา
“ 60 “ “ 60/4 = 15 องศา
นั้นคือ ค่าลองจิจูดของเส้นเมอริเดียนแต่ละเส้นห่างกันทุก ๆ
15 องศา มีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง
เวลาปานกลางกรีนิช (Greenwich Mean Time -GMT)
เวลาปานกลางกรีนิช เรียกอีกอย่่างหนึ่งว่า เวลาสากล เป็นเวลาท้องถิ่นของตำบลกรีนิช
กรุงลอนดอน ประเืทศสหราชอาณาจักร ที่กำหนดให้เส้นเมริเดียนที่ 0 องศาลากผ่าน และให้ประเทศ
ต่าง ๆ ที่อยู่ทางด้านตะัวันออกและตะวันตกของตำบลนี้ใช้อ้างอิงเพื่อกำหนดเป็นเวลามาตรฐานสำหรับใช้ในประเ้ทศของตน
การประชุมสภาคองเกรสนานาชาติ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อ พ.ศ. 2427 ได้กำหนดเขตเวลามาตรฐานของโลกขึ้นตามเเนวเส้นเมริเดียน โดยยึดเส้นเมริเดียนเเรกที่ลากผ่านตำบลกรีนิชเป็นหลัก คือ ให้พื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของเส้นนี้มีเวลาเร็วกว่าเวลาที่เส้นนี้ 1 ชั่วโมง ต่อ 15 เส้นเมริเดียน ส่วนพื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะัวันตกของเส้นนี้ให้มีเวลาช้ากว่าเวลาที่เส้นนี้ 1 ชั่วโมง ต่อ 15 เส้นเมริเดียน
เส้นวันที่ ( Date Time )
โดยกำหนดประมาณที่เส้นลองจิจูดที่ 180 เป็นเส้นแบ่งเขตวันสากลแต่มีการเลี่ยงให้เส้นเขตวันนี้ผ่านเฉพาะพื้นน้ำ เพื่อขจัดปัญหาการมี 2 วันบนเกาะเดียวกัน ดังนั้นเส้นเขตวันนี้จึงไม่เป็นเส้นตรงตามเส้นเมอริเดียน 180 ตลอดทั้งเส้น อีกอย่างถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันตกต้องนับวันลดลง 1 วัน และถ้าข้ามเส้นเขตวันนี้ไปทางซีกโลกตะวันออกจะต้องนับวันเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน

เวลาท้องถิ่น ( local time )
( 24 x 60 = 4 ) บริเวณที่อยู่ทางตะวันออกจะเร็วกว่าบริิ้เวณที่อยู่ด้านตะวันตก เช่นกรุงเทพมหานครตั้งอยู่ที่่
360
ลองจิจูด 100 องศาตะวันออก ย่อมมีเวลาท้องถิ่นเร็วกว่ากรีนิช 6 ชั่วโมง 40 นาที ( 4 x 100 = 6.67 )
60
จังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยูที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออกมีเวลาท้องถิ่นเร็วกว่ากรีนิช 7 ชั่วโมง
( 4 x 105 = 7 )
60 เวลาท้องถิ่นในประเทศไทยจึงเเตกต่างกันตามที่ตั้ง ดังนั้น เื่พื่อประโยชน์ในการปกครองเเละความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศไทยทางราชการจึงประกาศให้ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานประเทศไทยแทนเวลาท้องถิ่นซึ่งเ๊ีร็วกว่ากรีนิช 7 ชั่วโมง
เวลามาตรฐาน ( Standard Time )
ประเทศอังกฤษทั้งประเทศใช้เวลาของเมริเดียนกรีนิช ประเทศฝรั่งเศสแต่ก่อนเคยใช้เวลาของเมริ-เดียนปารีส แต่ได้เปลี่ยนมาใช้เวลาของกรีนิชตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๕๔ (ค.ศ. ๑๙๑๑)
สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นการยากที่จะใช้เวลาเดียวกันทั้งประเทศจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกดวงอาทิตย์ขึ้นที่ซานฟรานซิสโก (Sanfrancisco) ทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกาประมาณ ๔ ชั่วโมง ภายหลังที่ขึ้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือในรัฐเมน (Maine)
ในประเทศไทยเราใช้เวลามาตรฐานของลองจิจูด๑๐๕ degree หรือ ๗ ชั่วโมง ต่างกันกับเวลากรีนิช ที่กรุงเทพมหานคร เวลาท้องถิ่นกับเวลามาตรฐานต่างกันประมาณ ๑๘ นาที กล่าวคือ เวลามาตรฐานของกรุงเทพมหานคร เร็วขึ้นหน้าเวลาจริงของท้องถิ่นประมาณ ๑๘ นาที
เวลาเร็วขึ้นหรือช้าลงทุกๆ ๑๕ องศาลองจิจูดก็มีการเปลี่ยน ๒๔ ชั่วโมง เมื่อเราเดินทางไปรอบโลก โดยที่วันหนึ่งมีเพียง ๒๔ ชั่งโมง ก็ต้องมีทางแก้ไขไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่า ๒๔ ชั่วโมงนับตั้งแต่ต้น ถ้าไม่ทำเช่นนั้น วันตามปฏิทินในตำบลต่างๆ ของโลกก็จะสับสนกันมาก การแก้ไขปัญหานี้ได้มีการกำหนดเริ่มต้นของวันปฏิทินที่เส้นซึ่งเลือกขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก เส้นนี้มีชื่อว่า เส้นวันสากล (international date line)
เส้นวันสากลไปตามเมริเดียน ๑๘๐ องศา ครึ่งหนึ่งของรอบโลกของกรีนิช มีเบี่ยงเบนไปบ้างบางแห่งกำหนดให้รอบๆ เกาะอาลิวเชียน (Aleutian) นับเวลาเหมือนกับทางอะแลสกา (Alaska) และเกาะในทะเลใต้บางเกาะเหมือนกับออสเตรเลีย เมื่อเดินทางไปทางตะวันตกผ่านถึงเส้นนี้ ทิ้งวันตามปฏิทินออกไป ๑ วันและตรงกันข้าม เมื่อเดินทางไปทางตะวันออกถึงเส้นวันสากล ต้องซ้ำวันตามปฏิทินวันเดียวกันนั้นอีก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัฐกาลที่ 6 ได้มีพระราชโองการกำหนดเวลามาตรฐานสำหรับประเทศไทยโดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตรา ซึ่งได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 36 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2462 และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2463 (วันขึ้นปีใหม่ในขณะนั้น) ให้ “เวลาอัตราสำหรับกรุงสยามทั่วพระราชอาณาจักรเป็น 7 ชั่วโมงก่อนเวลากรีนีชในเมืองอังกฤษ”
ความริเริ่มเกี่ยวกับเวลามาตรฐานประจำถิ่นเริ่มมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 19 เพื่อขจัดความสับสนเนื่องจากการจับเวลาตามแสงอาทิตย์ การกำหนดเวลามาตรฐานท้องถิ่นจึงจำเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเดินรถไฟขึ้น ในปี พ.ศ. 2383 ได้มีการใช้เวลามาตรฐานครั้งแรกในประเทศอังกฤษ โดยทั้งประเทศใช้เวลามาตรฐานที่เมืองกรีนีช (Greenwich) ต่อมา เซอร์ แซนฟอร์ด เฟรมมิง นักวางแผน และวิศวกรรถไฟชาวแคนาดา ได้เป็นผู้ริเริ่มความคิดที่มีการใช้เวลามาตรฐานไปทั่วโลก
การใช้เวลามาตรฐาน (Standard Time) ของแต่ละประเทศ โดยเทียบกับเวลามาตรฐานโลก (Universal Time Co-ordinated หรือ UTC) นั้นใช้กฎเกณฑ์พื้นฐานที่ได้จากการประชุมนานาชาติ International Prime Meridian Conference ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427 โดยมี 25 ประเทศเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้มีข้อตกลงให้ แบ่งโลกตามแนวเส้นแวงออกเป็น 24 โซนเท่าๆ กัน แต่ละโซนมีค่า 15 องศา ทั้งในทางทิศตะวันตกและตะวันออก และมีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมงห่างจากโซนที่ติดกัน และเส้น 0 องศาจะผ่านที่เมืองกรีนีช (Greenwich) ประเทศอังกฤษ โดยมีเส้นแบ่งวัน (International Date Line) อยู่ที่ 180 องศา ทั้งนี้ประเทศต่างๆ ได้รับเอาแนวคิดนี้ โดยใช้เส้นแวงที่แบ่งประเทศออกเป็นสองส่วนเป็นตัวกำหนดเวลาว่า เวลามาตรฐานประจำถิ่น เร็วกว่าหรือช้ากว่าเวลามาตรฐานโลก ที่เมืองกรีนีช ประเทศอังกฤษ เท่าไร แต่อย่างไรก็ดีก็มีการกำหนดเวลาท้องถิ่น และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของประเทศต่างๆ ทั้งนี้สิทธิการกำหนดเวลามาตรฐานประจำถิ่นยังเป็นของประเทศนั้นๆ อยู่
เปรียบเทียบวันเวลาของประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ
ประเทศที่อยู่ในเขตภาคเวลาเดียวกันกับประเทศไทยจะใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน เช่น ประเืทศลาว กัมพูชา ส่วนประเทศที่อยู่ต่างเขตภาคเวลากับประเทศไทยจะใช้เวลามาตรฐานต่างกัน เช่น ประเทศอินเดีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ทั้งนี้ประ้เทศที่อยู่ด้านตะวันตกของประเทศไทยจะมีเวลาช้ากว่าประเทศไทย ส่วนประเทศที่อยู่ทางด้านตะัวันออกของประ้เทศไทยจะมีเวลาเร็วกว่าประเทศไทย
ตารางเทียบเวลาประเทศไทยกับต่างประเทศ
ประเทศ | เร็วกว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง) | ช้ากว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง) | | ประเทศ | เร็วกว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง) | ช้ากว่าเวลาประเทศไทย (ชั่วโมง) |
| | 2 ชั่วโมงครึ่ง | | | | 6 ชั่วโมง |
| | 6 ชั่วโมง | | | | 12 ชั่วโมง |
| | 6 ชั่วโมง | | | | 2 ชั่วโมง |
| | | | | | 5 ชั่วโมง |
เมือง Adilade | 2 ชั่วโมงครึ่ง | | | | | 4 ชั่วโมง |
เมือง | 3 ชั่วโมง | | | | | 4 ชั่วโมง |
เมือง | 1 ชั่วโมง | | | | | 5 ชั่วโมง |
เมือง | 3 ชั่วโมง | | | | 1 ชั่วโมง | |
| | 6 ชั่วโมง | | | | 13 ชั่วโมง |
Barrain | | 4 ชั่วโมง | | | | 6 ชั่วโมง |
| | 1 ชั่วโมง | | | 5 ชั่วโมง | |
| | 6 ชั่วโมง | | | | 6 ชั่วโมง |
| | 13 ชั่วโมง | | | | 6 ชั่วโมง |
| | | | | | 2 ชั่วโมง |
เมือง | | 10 ชั่วโมง | | Philipines | 1 ชั่วโมง | |
เมือง | | 10 ชั่วโมง | | | | 6 ชั่วโมง |
| | | | | | 7 ชั่วโมง |
เมือง | | 12 ชั่วโมง | | | | 4 ชั่วโมง |
เมือง | | 15 ชั่วโมง | | | 1 ชั่วโมง | |
เกาะ Cayman | | 12 ชั่วโมง | | | | 5 ชั่วโมง |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)